กระถิน


ลักษณะของกระถิน

  • ต้นกระถิน และมีถิ่นกำเนิดในอเมริกาเขตร้อนและในหมู่เกาะในมหาสมุทรแปซิฟิค มีการนำเข้ามาปลูกในประเทศไทยตั้งแต่สมัยสุโขทัย เนื่องจากต้นกระถินเป็นพืชที่ขยายพันธุ์ได้ง่ายจึงพบได้ทั่วไป[3],[8] จัดเป็นไม้พุ่มหรือไม้ต้นขนาดเล็ก มีขนาดความสูงประมาณ 3-10 เมตร ไม่ผลัดใบ ลักษณะทรงต้นเป็นเรือนยอดรูปไข่หรือกลม เปลือกต้นมีสีเทา และมีปุ่มนูนของรอยกิ่งก้านที่หลุดร่วงไป และขยายพันธุ์ด้วยวิธีการใช้เมล็ด เจริญเติบโตได้ดีในดินร่วนซุยหรือในดินเหนียวอุ้มน้ำได้ดี[1],[2],[3],[6]
  • ใบกระถิน ใบเป็นใบประกอบแบบขนนกสองชั้น เรียงสลับกัน ยาวประมาณ 12.5-25 เซนติเมตร แกนกลางใบประกอบมีขน ใบแยกแขนงประมาณ 3-19 คู่ เรียงตรงข้ามกัน มีความยาวประมาณ 5-10 เซนติเมตร ส่วนใบย่อยมีประมาณ 5-20 คู่ เรียงตรงข้ามกัน ลักษณะของใบย่อยเป็นรูปขอบขนาน มีความกว้างประมาณ 2-5 มิลลิเมตร และยาวประมาณ 0.6-2.1 เซนติเมตร โคนใบเบี้ยว ปลายใบแหลม ขอบใบมีขน แต่ละใบมีเส้นแขนงอยู่ประมาณข้างละ 5-6 เส้น ส่วนก้านใบย่อยมีความยาวประมาณ 1 มิลลิเมตร[1],[2]
  • ดอกกระถิน ดอกมีสีขาว ออกดอกเป็นช่อแบบกระจุดแน่นตามง่ามใบและปลายกิ่ง ประมาณ 1-3 ช่อ กลีบเลี้ยงโคนติดกันลักษณะเป็นรูประฆัง ส่วนปลายแยกเป็นสามเหลี่ยมเล็ก 5 แฉก มีขน ส่วนกลีบดอกมี 5 กลีบ มีเกสรตัวผู้ 10 อัน เมื่อดอกบานเต็มที่จะกว้างประมาณ 2-2.5 เซนติเมตร โดยจะออกดอกในช่วงเดือนพฤษภาคมถึงเดือนมิถุนายน[1],[2]
  • ฝักกระถิน ฝักมีลักษณะแบน ปลายฝักแหลม โคนสอบ ฝักเมื่อแก่จะแตกตามยาว ฝักยาวประมาณ 10-20 เซนติเมตร และกว้างประมาณ 1.5-2 เซนติเมตร ในฝักมีเมล็ดเรียงตามขวางอยู่ประมาณ 15-30 เมล็ด และจะออกผลในช่วงเดือนกรกฎาคมจนถึงเดือนมกราคม[1],[2]
  • เมล็ดกระถิน เมล็ดมีลักษณะเป็นรูปไข่แบนกว้าง มีสีน้ำตาลและเป็นมัน[1],[2]

สรรพคุณของกระถิน

  1. ใช้เป็นยาอายุวัฒนะ (ราก[4],[5], เมล็ดแก่[6])
  2. กระถินมีฟอสฟอรัสสูง จึงช่วยเสริมสร้างและบำรุงกระดูก (ยอดอ่อน,ฝักอ่อน,เมล็ด)[3]
  3. ช่วยลดระดับน้ำตาลในเลือด (ยอดอ่อน)[5]
  4. ช่วยรักษาโรคความดันโลหิตสูง (ยอดอ่อน)[5]
  5. กระถินอุดมไปด้วยวิตามินเอ จึงช่วยบำรุงและรักษาสายตาได้ (ยอดอ่อน)[5]
  6. ช่วยบำรุงหัวใจ (ฝักอ่อน,ยอดอ่อน)[6]
  7. ช่วยแก้อาการนอนไม่หลับ (เมล็ดแก่)[6]
  8. ช่วยทำให้เจริญอาหาร (ฝักอ่อน,ยอดอ่อน)[6]
  9. ช่วยแก้อาอาการร้อนในกระหายน้ำ (ฝักอ่อน,ยอดอ่อน)[6]
  10. ช่วยแก้เกล็ดกระดี่ขึ้นตา (ดอก)[4]
  11. ช่วยแก้อาการท้องร่วง (ฝัก)[5],[6]
  12. เมล็ดกระถิน สรรพคุณใช้เป็นยาถ่ายพยาธิตัวกลม (Ascariasis) สำหรับผู้ใหญ่ให้ใช้ครั้งละ 25-50 กรัม ส่วนเด็กให้ใช้ 5-20 กรัม ต่อวัน โดยใช้รับประทานในช่วงตอนท้องว่างในตอนเช้าประมาณ 3-5 วัน (เมล็ด)[4],[5],[6]
  13. สรรพคุณกระถิน ช่วยขับลมในลำไส้ (ราก[2],[4],[5], เมล็ดแก่[6])
  14. ช่วยขับระดูขาวของสตรี (ราก[2],[4],[5], เมล็ดแก่[6])
  15. ช่วยลดการเกิดนิ่วในกระเพาะอาหาร (ยอดอ่อน,ฝักอ่อน,เมล็ด)[3]
  16. ดอกกระถิน สรรพคุณช่วยบำรุงตับ (ดอก)[2],[4],[6] ช่วยบำรุงไตและตับ (เมล็ดแก่)[6]
  17. ฝักกระถินเป็นยาฝาดสมาน ใช้ห้ามเลือด (ฝัก,เปลือก)[5],[6]
หมายเหตุ : ใบอ่อน ยอดอ่อน และดอกมีรสมัน เมล็ดอ่อนมีรสมันอมหวานเล็กน้อย รากมีรสจืดเฝื่อน ส่วนเปลือกมีรสฃ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น